ข่าวโรคติดต่ออุบัติใหม่ (ฉบับ 1-2/2554)

ข่าวโรคติดต่ออุบัติใหม่ในประเทศและต่างประเทศ

เรียน .. เครือข่ายข่าวกรองโรคติดต่ออุบัติใหม่
@@@@@สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ขอส่งรายงานข่าวกรองฉบับ รง. 1-2/2554 (ดังเอกสารแนบ) เพื่อให้ข้อมูล รวมทั้งข้อเสนอแนะแก่ผู้บริหาร และเครือข่าย ได้ใช้ประโยชน์สำหรับการป้องกัน ควบคุมโรคติดต่ออุบัติใหม่
และกำหนดความถี่ในการเผยแพร่อย่างน้อย 1 ครั้ง/เดือน ในสถานการณ์ปกติ และหากเป็นสถานการณ์การระบาด หรือต้องติดตามอย่างใกล้ชิด จะมีความถี่มากกว่า 1 ครั้ง/เดือน ท่านสามารถติดต่อกับทางศูนย์ได้ทางE-mail:EIDalert@hotmail.com และ E-mail:EIDalert@gmail.com ข่าวกรองฉบับนี้มีเนื้อหาที่น่าสนใจให้ติดตามหลายเรื่อง สามารถสรุปเป็นประเด็นสำคัญดังนี้

1   การระบาดของไข้หวัดนกในสัตว์ปีก

ประเทศที่รายงานการพบสัตว์ป่วยเป็นไข้หวัดนกแล้ว จำนวน 2 ประเทศ ได้แก่ เขตปกครองพิเศษฮ่องกง ประเทศจีน พบไวรัสไข้หวัดนก (H5N1) ในซากเป็ด และประเทศเมียนมาร์ พบในไก่ที่เสียชีวิตจากฟาร์ม 2 แห่ง

2  สถานการณ์ไข้หวัดนกในคน

                    พบผู้ป่วยไข้หวัดนกแล้ว จำนวน 2 ประเทศ คือ ประเทศกัมพูชา จำนวน 3 ราย และเสียชีวิตทั้ง 3 รายด้วยอาการแทรกซ้อนของระบบทางเดินหายใจ มีประวัติสัมผัสสัตว์ปีกที่ป่วย ผลตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการพบไวรัส (H5N1)  และอียิปต์ พบผู้ติดเชื้อไวรัส (H5N1) รายใหม่ จำนวน 2 ราย และเสียชีวิตแล้วหนึ่งราย

          ข้อเสนอแนะ

ประเทศกัมพูชา ซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านติดกับประเทศไทย จึงมีความเสี่ยงสูงที่ไข้หวัดนกในประเทศไทยอาจจะเกิด
การระบาดขึ้นได้ ดังนั้นเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะจังหวัดชายแดนที่ติดกับประเทศกัมพูชา ควรมีการเฝ้าระวังการเข้าออกของผู้เดินทาง รวมถึงการนำเข้าสัตว์ปีก เพื่อป้องกันเชื้อไข้หวัดนกแพร่เข้ามาในประเทศ และควรมีการประชาสัมพันธ์ประชาชนในพื้นที่ให้มีสุขอนามัยที่ดี      
3.  พบการระบาดของโรค Ross River (RRV) และ Barmah Forest Virus (BFV) ในประเทศออสเตรเลีย

                    พบผู้ป่วย Ross River (RRV) และ Barmah Forest Virus (BFV) รวมแล้ว 350 ราย โดยเฉพาะใน ปี 2553 นี้ พบผู้ป่วยแล้ว 16 ราย โดยผู้ป่วยบางรายหายปวยได้เองภายในสองถึงสามสัปดาห์

          ข้อเสนอแนะ

                   เนื่องจากโรคชนิดนี้มียุงเป็นพาหะนำโรค ประเทศไทยจึงมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคด้วย ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการแนะนำผู้ที่มีการเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีการระบาด ให้ป้องกันตนเองโดยการไม่ให้ยุงกัด หลีกเลี่ยงการออกไปอยูในบริเวณที่มียุงชุกชุม

4.     พบผู้ป่วยโรคติดเชื้อฮานต้าไวรัส ในประเทศชิลีและอเมริกา

              ประเทศชิลี รายงานการพบผู้ป่วยโรคติดเชื้อฮานต้าไวรัสเสียชีวิตแล้ว จำนวน 3 ราย  ประเทศสหรัฐอเมริกา รัฐนิวแม็กซิโก พบผู้ป่วยติดเชื้อฮานต้าไวรัส เป็นหญิงอายุ 51 ปี ซึ่งนับเป็นผู้ป่วยรายที่ 2 ของรัฐดังกล่าว

    ข้อเสนอแนะ

                    เจ้าหน้าที่สาธารณสุขควรให้ความรู้กับประชาชนในการดูแลความสะอาดของบ้านเรือน และพยายามหลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ฟันแทะ เพื่อป้องกันการรับเชื้อจากสัตว์

5.     พบโรคไข้สมองอักเสบนิปาห์ในประเทศบังคลาเทศ

                    ประเทศบังคลาเทศ ได้มีรายงานการพบผู้ป่วยโรคไข้สมองอักเสบนิปาห์เสียชีวิต 1 ราย เป็นเพศชาย อายุ 30 ปี ผู้ป่วยได้มีอาการไข้หลังจากที่ดื่ม Date palm juice

       ข้อเสนอแนะ

                    โรคไข้สมองอักเสบนิปาห์ ยังไม่เคยพบในไทย แต่เป็นโรคที่มีอัตราป่วยตายสูง ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความรู้แก่ประชาชน โดยเฉพาะในกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ เมื่อพบหมูหรือม้ามีการป่วยตายอย่างผิดปกติ ควรแจ้งให้เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ในพื้นที่ทราบ เพื่อตรวจหาสาเหตุและทำลายซากสัตว์อย่างถูกวิธี

บทความวิชาการ

1.     สายพันธุ์ไวรัสที่ใช้ในการผลิตวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล

                    เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2011 คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ ได้ออกคำแนะนำสายพันธุ์ของไวรัสที่ใช้ในการผลิตวัคซีนของซีกโลกเหนือ คือ A/California/7/2009 (H1N1)-like strain , A/Perth/16/2009 (H3N2)-like strain และB/Brisbane/60/2008-like strain
          ข้อเสนอแนะ

                    สายพันธุ์ของเชื้อไวรัสซีกโลกภาคเหนือที่ประกาศในเดือนกุมภาพันธ์ (จะออกสู่ท้องตลาดประมาณเดือน มี.ค.-เม.ย.) และสายพันธุ์ซีกโลกภาคใต้ประกาศในเดือนกันยายนของทุกปี (จะออกสู่ท้องตลาดประมาณเดือน ต.ค.-พ.ย.) เพื่อกำหนดไวรัสที่จะใช้เป็นองค์ประกอบสำหรับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล

2.     การตรวจพบเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ (H1N1) 2009 ดื้อต่อยาที่ใช้รักษาในประเทศเกาหลีใต้

                    ผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ (H1N1) 2009 จำนวน 740,835 ราย ในจำนวนนี้เสียชีวิต 225 ราย (0.03%) แพทย์ที่ทำการรักษาผู้ป่วยที่สงสัยต่อการดื้อยา oseltamivir ที่ใช้รักษา โดยส่งตัวอย่างตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการผู้ป่วย 67 ราย พบผู้ป่วยดื้อต่อยา 11 ราย

          ข้อเสนอแนะ

                    ประเทศไทยซึ่งยังพบการดื้อยาน้อยมากก็ควรมีการเฝ้าระวังการดื้อยาอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ควรมีการแนะนำแพทย์ผู้ทำการรักษาผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ หากผู้ป่วยไม่มีการตอบสนองต่อยาที่ใช้รักษา อาจพิจารณาตรวจสอบการดื้อยาของผู้ป่วยด้วย

ไฟล์แนบ


 
Design by Free WordPress Themes | Bloggerized by Lasantha - Premium Blogger Themes | Lady Gaga, Salman Khan